การบริหาร KPI อย่างมีประสิทธิภาพ (Effective KPI Management) โดย อ.ต้น ธนุเดช ธานี
การบริหารจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) มีการเปลี่ยนแปลงไปจากยุคเดิมเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ชัดเจนจากการที่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจได้นำระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System) เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ การวัดหรือประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) ที่เป็นชัดเจนจับต้องได้เป็นรูปธรรมในเชิงของตัวเลข โดยเฉพาะการประเมิน Performance/Result และ Competency ที่สอดคล้องกับ เป้าหมายทางธุรกิจและแผนกลยุทธ์ ด้วยเหตุนี้องค์กรยุคใหม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ด้วยการบริหาร KPI อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งขององค์การ โดยให้พนักงานทุกคนทุกระดับมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดผลงาน และต่อยอดความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติ (Action Plan) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์การ (Competitive Advantage)
แต่ในทางปฏิบัติการจัดทำและนำ KPI ไปใช้งานจริง หลายองค์กรมักจะพบกับประเด็นคำถามที่ว่า
- KPI ก็กำหนดแล้ว แต่ไม่รู้จะเชื่อมโยงไปสู่กลยุทธ์ขององค์การอย่างไรดี ?
- อ้าว ! แล้วแต่ละหน่วยงานต้องกำหนด KPI ให้ครบทั้ง 4 มิติ (Balance ScoreCard) ขององค์กรหรือไม่ ?
- จะทำอย่างไรดีให้ KPI ของแต่ละหน่วยงาน (Functional KPIs) เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจหรือเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) ?
- KPI ของฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ก็กำหนดง่ายนะสิ มีตัวเลขวัดผลได้ชัดเจน แล้วฝ่ายสำนักงานหรือสายสนับสนุน (Back Office) จะกำหนด KPI อย่างไรให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมวัดผลได้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) ดีล่ะ ?
- แล้ว KPIs ในระบบ ISO9001 / IATF16949 ที่มี จะเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรได้ไหม ?
- แล้วตัวชี้วัดและเป้าหมายรายบุคคลของแต่ละตำแหน่งงานล่ะ (Position KPI) จะกำหนดจากอะไร อย่างไรดี ?
- ไม่รู้ว่าจะเชื่อมโยงCorporate KPIs, Functional KPIs และ Position KPI ไปสู่การประเมินผลงานประจำปี (Performance Appraisal) อย่างไรถึงจะเหมาะสม เป็นธรรม สะท้อนผลงานที่แท้จริง ?
- KPI เป็นหัวข้อการประเมินผลที่ชัดเจนที่สุด โดยผู้บังคับบัญชาไม่ต้องใช้ความรู้สึกในการประเมิน แล้วออกแบบและกำหนดอย่างไร ?
หลักสูตรฝึกอบรมนี้มีคำตอบจากประสบการณ์การทำงานตรงKPI มากว่า 16 ปี จากผู้บริหารสายงาน HR และวิทยากร รวมทั้งที่ปรึกษา ที่จะให้ช่วยบุคลากรในองค์กรของท่าน “เรียนรู้จากประสบการณ์แบบกระชับ มี Workshop ฝึกปฏิบัติที่เข้าใจง่าย และนำไปใช้ปรับงานใช้ได้จริง” โดยที่ผู้เรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ KPI มาก่อน
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจ เกี่ยวกับความหมาย หลักการ แนวคิด แนวทาง เทคนิค และวิธีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs หรือ Business Goal Indicators) ตัวชี้วัดและเป้าหมายหน่วยงาน (Functional KPIs) ตัวชี้วัดและเป้าหมายตำแหน่งงาน(Position หรือ Job KPIs)
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำ และนำ KPI ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรใหม่
- เพื่อเสริมสร้างความรู้และเทคนิคในการออกแบบและกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs)
- เพื่อเสริมสร้างเทคนิคการเชื่อมโยง KPI กับกลยุทธ์ขององค์กร (Strategic) และการบริหารกลยุทธ์ หรือแผนปฏิบัติงานตาม KPI ที่กำหนดไว้
- สามารถกระจายตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs / Business Goal Indicators) สู่การกำหนด ตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน (Functional KPIs) ของฝ่าย/แผนกที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม สอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรหรือ Corporate KPIs
- สามารถวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Individual KPIs) หรือตำแหน่งงาน (Position KPIs) ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน (Functional KPIs) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถเชื่อมโยง KPI สูู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปียุคใหม่ (Performance Appraisal System) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำความรู้ และเทคนิคที่ได้รับไปปรับใช้ในการกำหนด ทบทวน และปรับปรุง Corporate KPIs, Functional KPI และ Position KPIs ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับธุรกิจ
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้
ส่วนที่ 1 : แนวคิดและหลักการของ Key Performance Indicators (KPI Introduction)
- ความหมายของ Key Performance Indicators (KPI) ?
- ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง KPI (Key Performance Indicator) กับ OKR (Objective and Key Result)
- ความสำคัญและประโยชน์ของ KPI ในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์การ
- 4 หลักการสำคัญในการออกแบบและกำหนด KPI ให้มีประสิทธิผล
- KPI ในองค์กรที่ดีควรมี 4 ระดับ
- Workshop 1 : ปัญหาที่พบในการออกแบบและกำหนด KPI และแนวทางป้องกัน/แก้ไข
ส่วนที่ 2 : เทคนิคการวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับองค์การ (Corporate KPIs หรือ Business Goal Indicators)
- Balance Scorecard เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดระดับองค์การ
- ตัวอย่างที่ 1 : แบบฟอร์มในการกำหนดCorporate KPIs
- ตัวอย่างที่ 2 : ตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs)
- การกำหนด Objective และ Key Performance / Key Result ขององค์กร
- ขั้นตอนและวิธีการกำหนดและกระจายตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs) สู่ตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับฝ่าย/แผนก (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งองค์กร
- ตัวอย่างที่ 3 : แบบฟอร์มในการกระจายเป้าหมายองค์กรสู่เป้าหมายหน่วยงานให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งองค์กร
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติกระจายตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs) สู่ตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับฝ่าย/แผนก (Functional KPIs)
ส่วนที่ 3 : เทคนิคการวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับฝ่าย/แผนก (Functional KPIs) ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับองค์การ (Corporate KPIs)
- เทคนิคการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) ตัวชี้วัดผลลัพธ์หลักของงาน (Key Performance/Key Result) และการตั้งเป้าหมายการทำงาน (Target) อย่างมีประสิทธิภาพ
- ขั้นตอนและวิธีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละฝ่ายงาน (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและกำหนดตัวชี้วัดระดับฝ่าย/แผนก (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดองค์กร (Corporate KPIs)
- ความแตกต่างระหว่าง Key Process Indicator กับ Key Performance Indicator
- ตัวอย่างที่ 4 : หัวข้อ KPIs ของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร
- แนวทางการทำให้หน่วยงานบรรลุ KPI ด้วย Initiative
- แนวทางการแปลง KPI และ Initiative สู่การปฏิบัติด้วยแผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
ส่วนที่ 4 : เทคนิคการวิเคราะห์และกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ระดับตำแหน่งงาน (Position / Individual KPIs)
- 4 เครื่องในการวิเคราะห์และกำหนด Position KPIs
- ตัวอย่างที่ 5 : Job Description ยุคใหม่ Version 4 ที่มี KPI
- ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ Position KPIs จากใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description)
- Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและกำหนดตัวชี้วัดระดับตำแหน่งงาน (Position / Individual KPIs) เป็น Output ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับตำแหน่งงานใน Modern Job Description
ส่วนที่ 5 : เทคนิคการจัดทำบันทึกข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน และติดตามความสำเร็จของงานตามตัวชี้วัด (KPI Performance Agreement & KPI follow up)
- ตัวอย่างที่ 6 : แบบบันทึกข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน (KPI Performance Agreement) ในการกำหนด KPI ให้เชื่อมโยงกับ KPI ของหน่วยงานและองค์กร
- วิธีการสรุปและติดตามตัวชี้วัดและความสำเร็จของงานด้วยKPI Performance Agreement
ส่วนที่ 6 : เทคนิคการประเมินผลและสะท้อนผลการปฏิบัติด้วย KPI (Performance Appraisal & Performance Feedback Technique based on KPI)
- ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์(Strategic Performance Management System : SPMS)
- แนวทางการกำหนดเกณฑ์ และน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ตัวอย่างที่ 7 : การกำหนดเกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลประจำปียุคใหม่
- วิธีการเชื่อมโยง Corporate KPIs, Functional KPIs, Project KPIs, Position KPIs สู่การออกแบบหัวข้อประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (Performance Appraisal based on KPI) โดยผู้บังคับบัญชาไม่ต้องใช้ความรู้สึกในการประเมิน
- ตัวอย่างที่ 8 : แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มี KPI ของหน่วยงานและรายบุคคล ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายองค์กร
- 6 ขั้นตอนในการสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Performance Feedback ) สำหรับผู้บริหารและหัวหน้างานยุคใหม่ ที่ช่วยให้พนักงานรู้สึกเป็นธรรมและสะท้อนผลงานที่ทำ
ระยะเวลาในการเรียนรู้
จำนวน 1-2 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.
วิธี/รูปแบบในการเรียนรู้
- การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
- การฝึกเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการนำเสนองาน
- การแชร์ประสบการณ์ที่ปรึกษา
- การตอบข้อซักถาม
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ
ผู้บริหารระดับสูง QMR ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนก คณะกรรมการ ISO และทีมงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838
E-mail : peopledevelop@outlook.com